fbpx

ขึ้นชื่อว่าเป็นนักข่าวยุคนี้ อะไรหลายๆอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอใช่ไหมครับ? วันนี้พี่งามของเราจะพาทุกคนมาสรุปจากการอัพเดตในงาน CTC2019 ซึ่งเพิ่งจัดผ่านพ้นไปไม่นานมานี้นี่เอง แต่ว่าขึ้นชื่อว่าส่องสื่อแล้ว เราต้องมาอัพเดตสิ่งที่ได้ในแง่มุมสื่อมวลชนอย่างแน่นอน จะเป็นยังไงนั้นลองอ่าน (หรือฟังจาก Podcast ด้านบน) ได้เลยครับผม

อนาคตของคอนเทนต์ : เมื่อสื่อเป็นผู้ถูกเลือก

ภาพจาก Creative Talk Live

เนื้อหาจากการพูดของคุณเคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหารสำนักข่าว The standard

สำหรับหัวข้อนี้จะเน้นการพูดถึงเรื่องการที่ผู้ใช้งานมีแพลตฟอร์มอยู่ในมือและสามารถสร้างคอนเทนต์ได้มากขึ้นก็จะไปทำให้สื่อหลักอย่าง โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์เองก็ถูก Disrupt พอทุกคนเป็นสื่อได้หมด ทุกอย่างก็กลับข้าง ซึ่งสื่อเองก็ต้องกลายเป็นผู้ถูกเลือก ในขณะเดียวกันผู้เสพสื่อก็จะเป็นผู้เลือกเนื้อหาด้วยตนเองเช่นกัน เมื่อสถานการณ์กลับข้างกันแบบนี้ คนทำสื่อเองก็ต้องปรับแนวคิดกัน นั่นคือจะต้องมีความถ่อมตัวมากขึ้น เราจะต้องเข้าใจว่าเราเข้าไปอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวของคนอื่น

1.7 วินาที คือเวลาที่สื่อจะต้องทำให้ผู้บริโภคสื่อสนใจในสื่อนั้นๆ
แล้วสื่อจะต้องทำยังไงบ้าง?
คุณเคนได้ยก 3 ข้อขึ้นมาพูดถึงในการผลิตสื่อ คือ

  1. เข้าใจตัวเองว่าถนัดเล่าเรื่องอะไร และจุดที่เราแตกต่างคืออะไร?
  2. เข้าใจคนเสพสื่อว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร? ใครที่เป็นคนสนใจคอนเทนต์ของเรา
  3. เข้าใจโลก เข้าใจธรรมชาติของแต่ละแพลตฟอร์ม Social Media แต่ละแบบว่าเราจะสื่อสารไปในแนวทางไหน รวมถึงเข้าใจพฤติกรรมของผู้อ่านและสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดในการนำเสนอคอนเทนต์ และเป็นหัวใจหลักในการทำงานด้วย นั่นก็คือ “คอนเทนต์” เองนั่นแหละ ซึ่งคอนเทนต์ที่ดีและมีคุณภาพจะช่วยทำให้คนเข้ามาอ่านมากยิ่งขึ้น ทีนี้เลยมีคำถามว่าแล้วคอนเทนต์ที่ดีจะเป็นยังไงบ้างล่ะ? คุณเคนก็ได้บอกถึงหลักการทำคอนเทนต์ที่ดีด้วยเช่นกันว่าควรมีสิ่งต่างๆเหล่านี้ประกอบกันด้วย ได้แก่

  1. มีเนื้อหาน่าสนใจ
  2. เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์

ซึ่งเราก็สามารถสร้างคอนเทนต์ที่สมดุลกันทั้ง 2 ข้อในคอนเทนต์เดียวกันก็จะดีมากยิ่งขึ้นด้วยนั่นเอง นอกจากนั้นยังต้องเล่าเรื่องที่ดีและมีเนื้อหาที่ดีด้วยเช่นกัน จึงจะทำให้คอนเทนต์เป็นที่น่าสนใจมากขึ้นไปอีกนั่นเอง

คอนเทนต์จาก Blogger : แบรนด์ต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

ภาพจาก Creative Talk Live

จากเนื้อหาการพูดของคุณชรัตน์ เพ็ชร์ธงไชย หัวหน้าธุรกิจ LINE Today, LINE ประเทศไทย คุณกสม วิชชุลดา เจ้าของเพจนำไปใช้ และคุณจารุต ธำรงวัฒนา Content Marketing Director บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)

สำหรับหัวข้อนี้ยังเน้นหนักที่คอนเทนต์ว่าในปัจจุบันคอนเทนต์มีให้เสพค่อนข้างเยอะ และพฤติกรรมผู้เสพสื่อก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปก็ประกอบไปด้วย

  1. คนต้องการความเร็ว รู้ก่อนได้เปรียบกว่า
  2. มีความเรื่องมาก เลือกคอนเทนต์ที่ตนเองจะสนใจจริงๆ
  3. คอนเทนต์สั้นยาวไม่สำคัญอีกต่อไป แต่ดูที่คุณภาพของคอนเทนต์สำคัญกว่าและดูข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น
  4. มีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้คนรู้สึกแปลก ตะลึง เซอร์ไพร์ชมากขึ้น
  5. คนเริ่มหาคอนเทนต์ที่ดูเข้าทางกับตัวเองมากขึ้น

โดยภาพรวมก็อาจจะเห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอคอนเทนต์ก็คือ “คุณภาพของคอนเทนต์” ที่อาจจะไม่ได้วัดกันแค่ที่ความเร็ว แต่ต้องดูอย่างไรให้มีคุณภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ซึ่งก็เชื่อมโยงมายังคอนเทนต์จาก Blogger เช่นกันว่าจะทำอย่างไรให้มีคุณภาพที่แบรนด์ใช้วัดผลได้ด้วย แต่ก่อนที่จะไปรู้เรื่องนี้ แบรนด์เองก็อาจจะต้องเข้าใจธรรมชาติของคอนเทนต์และ Social Media ก่อน เพื่อที่จะสามารถวางแผนตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนได้นั่นเอง และในการพูดหัวข้อนี้ก็ได้ยกตัวอย่างไอเดียการวัดผล 5 รูปแบบมาให้เป็นตัวชี้วัดตัวอย่าง เพื่อทำให้แบรนด์วางเป้าหมายให้ชัดเจนมากขึ้นด้วย

  1. วัดผลจากการรับรู้ วัดจากจำนวนการเห็นและการรับรู้ ซึ่ง Blogger อาจจะแพ้สื่อหลักที่สร้างการรับรู้มากกว่า เพียงแต่ Blogger เป็นกระบอกเสียงให้แบรนด์เท่านั้นเอง
  2. วัดผลจาก Traffic ที่ส่งไปถึงตัวแบรนด์โดยตรง ใช้วิธีการเช็คใน FB Page ว่ามียอด Like , Follow , inbox เท่าไหร่ แล้วพอได้ทำคอนเทนต์ผ่าน Blogger แล้วให้กลับมาเช็คอีกครั้งว่าเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน? และสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์เท่าไหร่? ซึ่งถ้าเราเก็บไปเรื่อยๆ ก็จะได้ค่ากลางที่เป็นมาตรฐานที่ดีอีกด้วย
  3. วัดผลจาก Convention Rate จากทางเว็บไซต์ อย่างที่ทราบกันว่าคนที่สนใจจะจดจ่อกับบทความอาจจะน้อยหน่อย แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็น Get More information ให้เขาสนใจที่จะไปหาข้อมูลของแบรนด์บนเว็บไซต์ต่อ ให้คนเริ่มรู้จักแบรนด์มากขึ้น
  4. วัดผลจากการ Co-lab ระหว่าง Blogger กับแบรนด์ ซึ่ง Blogger ก็ถือเป็นแบรนด์ๆหนึ่งเช่นกัน การ Co-lab ร่วมกันก็ย่อมถือเป็นการเข้าหาลุกค้าซึ่งกันและกันนั่นเอง ซึ่งแบรนด์ก็ต้องรู้ว่าลูกค้าตัวเองเป็นใคร และรู้จักว่า Blogger นั้นมีลูกค้าเป็นใครเช่นกัน จะได้วาง Target ไปด้วยกัน
  5. ฝาก Promotion Code ไว้ที่ Blogger ซึ่งวัดผลจากเม็ดเงินที่เข้ามา

ซึ่งทั้งหมดนี้ จะทำให้แบรนด์และ Blogger สามารถวัดผลความสำเร็จร่วมกันได้นั่นเอง