fbpx

หลายคนอาจจะเคยฟังวิทยุอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่คงจะฟังเฉพาะคลื่นที่ตนเองสนใจและต้องการเท่านั้น และวันนี้จึงเป็นที่มาของการรวบรวมเม็ดเงินโฆษณาว่าใครจะเป็นเจ้าแห่งการครอบครองส่วนแบ่งของเม็ดเงินโฆษณาขนาดใหญ่กันบ้าง? ไปติดตามจากบทความนี้กันเลยครับ

เริ่มต้นที่ COOL93 ทำรายได้มากที่สุด กวาดรายได้ไปถึง 570.76 ล้านบาท เนื่องมาจากการเปิดเพลงที่ใช้ Concept ว่า “เพลงเพราะต่อเนื่อง มากที่สุด” เป็นผลทำให้ได้รับความนิยมไปมากที่สุดอีกด้วย แต่หลังจากนั้นในปี 2558 ก็เริ่มได้รายได้ที่ลดลง พร้อมตกลงไปเป็นอันดับที่ 2 เนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนธุรกิจของบริษัทแม่อย่างอาร์เอสที่เน้นการขายปลีกมากขึ้นผ่าน Call Center 1784 และดึง COOL93 เป็นช่องทางการขายสินค้าผ่านการจัดรายการอีกด้วย โดยตกลงมากที่สุดในปี 2560 ที่ได้ไปเพียง 384.52 ล้านบาทเท่านั้น

ในขณะที่ Greenwave 106.5 FM ในปี 2557 ทำรายได้เป็นอันดับ 2 ซึ่งกวาดรายได้ไปไม่น้อยเลย อยู่ที่ 568.82 ล้านบาท และขยับขึ้นมาเกือบเท่าตัวในปี 2558 กวาดรายได้ไปทั้งสิ้น 641.99 ล้านบาท และคงความเป็นที่หนึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สะท้อนให้เห็นถึงแบรนด์ที่แข็งแกร่งมาก บวกกับการทำกิจกรรมเสริมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดคอนเสิร์ต การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างภาพลักษณ์กับแบรนด์ หรือแม้กระทั่งการทำรายการผ่านออนไลน์ก็ส่งผลทำให้รายได้สถานีวิทยุมีมากขึ้นด้วย โดยในปี 2561 ปิดรายได้ไปด้วยตัวเลข 533.86 ล้านบาท

นอกจากสองอันดับแรกที่คงที่มาตลอด 4 ปีกันแล้ว อันดับที่ 3-5 เป็นอันดับที่แกว่างไปมาตลอดทุกปี โดยจะมี 4 สถานีวิทยุที่มีส่วนแบ่งทางรายได้มากที่สุด คือ จส. 100 , FM ONE 103.5 , EAZY FM 105.5 และ “ลูกทุ่ง เน็ตเวิร์ค” ที่มาแรงแซงคลื่นวิทยุเพลงลูกทุ่งคลื่นอื่นๆ กันเลยทีเดียว

เริ่มต้นกันที่ จส.100 กันก่อน ถือว่าแปลกมากที่คลื่นสถานีวิทยุด้านการข่าวจราจรจะสามารถคว้าเป็น 1 ใน Top 5 ของสถานีที่มีมูลค่าโฆษณาสูงสุดมาได้ 3 ปีซ้อน (2557-2559) แต่ในขณะเดียวกันจะเห็นได้ชัดว่าจำนวนเม็ดเงินโฆษณากลับลดลงตามลำดับ โดยในปี 2557 ได้รายได้สูงสุดที่ 298.18 ล้านบาท และลดลงมากที่สุดในปี 2559 ที่ได้ไป 266.00 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับช่วงอุตสาหกรรมวิทยุที่มูลค่าโฆษณาโดยรวมถดถอยอีกด้วย

ในขณะที่ ลูกทุ่ง เน็ตเวิร์ค เป็นสถานีวิทยุแนวเพลงลูกทุ่งเพียงสถานีเดียวที่สามารถทำรายได้ขึ้นมาเป็น Top 5 โดยสามารถทำรายได้ในหลัก 450 ล้านบาทในปี 2559 ซึ่งแซงสถานีลูกทุ่งมหานครของ อสมท ที่ทำรายได้ไปเพียง 179.46 ล้านบาทเท่านั้น แต่หลังจากนั้นก็ลดลงมาเหลือ 238 ล้านบาทในปี 2560 และค่อยๆ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด