fbpx

ในสถานการณ์ปัจจุบันเราปฎิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้เป็นยุคของสื่อดิจิทัลที่คนทั่วไปสามารถรับรู้ข่าวสารได้โดยแค่เพียงเปิดสมาร์ทโฟนดูเท่านั้น ผู้ชมสามารถเลือกชมสื่อได้จากหลากหลายช่องทางจากอินเทอร์เน็ต ทำให้สื่อข่าวทั่วไปมีความหลากหลายมากขึ้น สื่อจึงต้องพัฒนาตามเทคโนโลยีให้ทันและหาจุดขายของตัวเองเพื่อเข้าหาตัวผู้ชมอยู่เสมอ

ในปี 2019 นี้ สื่อใหญ่หลายเจ้าเริ่มมีการที่จะปรับตัวให้ทันในยุคสมัยใหม่ตามแพลตฟอร์มที่อยู่ในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่สำนักข่าวใหญ่ต้องทำการบ้านอย่างหนักเพื่อการเจาะกลุ่มฐานลูกค้าที่ตนเองต้องการ และยังคงรักษามาตรฐานให้กลุ่มลูกค้าเก่าอีกด้วย อย่าง Workpoint News ที่ปีนี้มาแรงแซงโค้งเจาะตลาดโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ยูทูป และทวิตเตอร์ ในคอนเซ็ปต์ หัวข้อ สรุป กระชับ อ่านง่ายเข้าใจง่ายสรุปตรงประเด็นเพื่อให้คนเข้าถึงได้ง่าย ด้วยการตั้งหัวข้อที่คนสนใจกันและสรุปประเด็นที่คนเหล่านี้อยากรู้ อย่างปารีณา คืนที่ดินแล้วคดีจบไหม ? ก็มีเหตุการณ์สรุปตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน

BBC Thai ที่เน้นไปเกร็ดน่ารู้รอบตัวเรา โดยอ้างอิงจากผลการวิจัยของต่างประเทศ นำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่ายไม่ลึกทำให้คนอ่านอินตามได้ นำเสนอข่าวราชสำนักและการเมืองในแบบที่สำนักอื่นอาจจะไม่มี  ในตอนแรกถือว่ามีความแปลกใหม่มากเพราะสื่อไทยส่วนใหญ่ไม่กล้านำเสนอมุมมองในการเมืองและราชวงศ์

ในขณะที่สื่อกระแสหลักอย่างช่อง 3 ยังคงเน้นการนำเสนอผ่านรายการสดบนทีวีดิจิทัลอย่าง เรื่องเล่าเช้านี้ ที่จุดเด่นการนำเสนอข่าวคือความเป็นกันเอง และ ข่าวสามมิติที่สรุปเหตุการณ์ในแต่ละวัน ซึ่งในปีนี้มีการเปิดตัว ครอบครัวข่าวโฉมใหม่ หลังจากยุติการออกอากาศช่อง 13 และ 28 ไปแล้ว โดยครอบครัวข่าวโฉมใหม่จะแบ่งทีมเป็นดังนี้

04.00 น โลกยามเช้า – เจน ศมจรรย์
04.30 น. ครอบครัวข่าว 3 – เอ ดนยกฤต ,โอ๊ค นิธินาฏ,ทนายสงกานต์ และ คำรณ หว่างหวังศรี
เรื่องเล่าเช้านี้  เรื่องเล่าเสาร์ อาทิตย์  ไบรท์ พิชญทัฬห์  ไก่ภาษิต  หนุ่ย เอกราช  นิป นวนันท์ เซน เมจกา  อดัม แบรด ชอว์
08.00 น. ผู้หญิงยกกำลังแจ๋ว – ปอ ปุณยวีย์ ,ดาว อภิสรา ,บูม สุภาภรณ์ และ น้ำฝน พัชรินทร์ 
11.20 น. เที่ยงวันทันเหตุการณ์ หนุ่ม กรรชัย และ หมวย อริสรา 
12.20 น.โหนกระแส หนุ่ม กรรชัย 
15.45 น. เรื่องเด่นเย็นนี้ คุณธีระ  คุณวราภรณ์ คุณประวีณมัย คุณบัญชา และ บิ๊กจ๊ะ สาธิต กรีกุล 
20.00 น.ข่าวนอกลู่  พิศนุ นิลกลัด 
22.30 น. ข่าวสามมิติ กิตติ สิงหาปัด และ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง

ถึงแม้รายการข่าวช่อง 3 จะมีคนเข้าชมบนทีวีมากที่สุด และมีการติดตามบนเฟซบุ๊กมากกว่าสิบล้านกว่าไลก์ แต่บนโซเชียลยังไม่มีผลตอบรับที่ดีมากแม้จะเน้นการทำไปที่ช่องนี้ช่องเดียวทั้งบนเฟสและยูทูป นี้จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ช่อง 3 ต้องทำการบ้านอย่างหนักเพื่อนำตัวเองกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

ผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีแสดงให้เห็นในมีรายได้รวมที่ลดลงเรื่อย ๆ รวมทั้งมีรายได้จากโฆษณาที่น้อยลงเรื่อย ๆ จากไตรมาสที่ 2 รายได้จากโฆษณาทีวีลดลงอย่างมากถึง 23.3%  และกำไรสุทธิที่ติดลบ 138.06 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้ยังมีกำไรติดลบที่ยังไม่เท่าปี 2561 ที่มีถึง 330.18 ล้านบาท ในปีนี้จึงเป็นการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ของช่อง 3 เลยก็ว่าได้หลังจากที่ยกเลิกการให้บริการช่อง 13 และ 28

ส่วนข่าวในปีนี้เราคงได้เห็นไปกับเวทีปราศรัยทางการเมืองเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ที่คนทั่วไปได้ให้ความสนใจกันมาก เพราะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 5 ปีของไทยนั้นเอง ทำให้ทุกสื่อสำนักข่าวไม่ว่าจะเป็นกระแสหลักหรือรองต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือดในการจัดรายการเวทีดีเบตหาเสียงกระตุ้นยอดคนดู จึงมีหลายช่องที่มีจัดรายการดีเบตเป็นของตนเองอย่าง The Standard เองก็จัดเวทีดีเบตครั้งแรกในรูปแบบไลฟ์สดและรูปแบบกติกาที่ใหม่ในประเทศไทย จึงจัดเป็นอีกปีที่วงการข่าวคึกคักและมีสีสันเลยก็ว่าได้

มีกระแสมากมายในโซเชียลที่มีติดแฮชแท็กมากมายบนทวิตเตอร์อย่าง #ฟ้ารักพ่อ #เลือกตั้ง62 จึงมีหลายสื่อเลือกที่จะนำเทรนด์บนทวิตเตอร์นี้ไปทำข่าว และหลังการเลือกตั้งจบก็มีประเด็นต่อกับรัฐสภาทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายร่วมรัฐบาลอีก ปีนี้เลยจัดว่าเป็นยุคทองของข่าวการเมืองและอาจจะยาวไปถึงปีหน้าเลยก็ว่าได้ เพราะตอนนี้ทั้งฝ่ายค้านและร่วมรัฐบาลยังคงมีประเด็นดุเดือดอยู่เรื่อยมาตลอด

ส่วนอีกเรื่องที่มีฮิตกันในทุกปีคงไม่พ้น Fake News ที่มีเกิดขึ้นเยอะมากมายส่งผลทำให้คนทั่วไปหลงเชื่อและเข้าใจผิดกับข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงและตื่นตระหนกแชร์ให้คนอื่นไปเรื่อยอีกไม่พ้นกระทั่งสื่อใหญ่ ๆ บางที่นำ Fake News มาลงด้วย จึงส่งผลเสียโดยกว้างกับประเทศ ทำให้หลาย ๆ แพลตฟอร์มรวมถึงภาครัฐต้องพิจารณาหาทางแก้กัน โดยในปีนี้ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเองก็เปิดตัวศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบข้อมูลข่าวว่าเป็นจริงหรือเท็จกันแน่ โดยเราสามารถตรวจสอบข่าวปลอมได้ที่ antifakenewscenter.com เพื่อหารายชื่อข่าวปลอมโดยจะมีลิสข่าวปลอมให้เห็นเลย

จะเห็นได้ว่าที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดสื่อจะมีแนวทางเป็นของตัวเองแล้วทั้งนั้น ในขณะที่บางสื่อยังไม่มีการปรับตัวอาจจะทำให้ตัวเองอยู่รอดได้ยาก เพราะมีการแข่งขันกันที่สูง และการตรวจสอบความถูกต้องก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าสื่อลงอะไรผิดพลาดให้สาธารณะเห็น อาจจะทำให้มองว่าเป็นสื่อไร้คุณภาพเลยก็เป็นได้

โดยรวม ๆ แล้ว ปีนี้เป็นปีที่วงการสื่อมวลชนมีการแข่งขันที่มากขึ้นอย่างมากและมีการนำข้อเท็จจริงมานำเสนอต่อผู้ชมในรูปแบบที่สื่อสารง่ายขึ้น ในทั้งนี้รวมไปถึงการใช้ Fake News โจมตีฝ่ายตรงข้ามในประเด็นการเมืองทำให้ผู้คนหลงเชื่อไปกับข่าวเหล่านั้น สื่อจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอข้อเท็จจริงและแก้ไขข่าวปลอมที่ถูกออกไปด้วย


อ้างอิง
ไทยทีวีสีช่อง 3
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย